LAMPANG-CNN
สังคมและวัฒนธรรม

HOME

 บอกอ ขอคุยด้วย   

 นครลำปาง ณ วันนี้

 การค้า-เศรษฐกิจ 

 สังคม-วัฒนธรรม 

 + มหัศจรรย์ก๋องปู่จาล้านนา

 รถม้าพาเที่ยว     

 สุขกายสบายใจ    
 จิตวิทยาใกล้ตัว    
 สาระบันเทิง        
 แจ่งหนังสือ         

  นำเสนอข่าวสาร และสาระต่างๆในด้านสังคม-วัฒนธรรมของเมืองรถม้า และภาคเหนือ     

 *** ผลการแข่งขันตีกลองปู่จา พร้อมภาพการแสดงในวันที่ 2 ก.พ. 46 คลิกที่นี่ ***

"ก๋องปู่จา" สืบสานตำนานล้านนาไทย

 

"ก๋องปู่จา" หรือกลองบูชา มีประวัติยาวนานเคียงคู่อารยธรรมล้านนา  ถือเป็นภูมิปัญญาอันเป็นมรดกของชาติ  กลองปู่จาถูกสร้างขึ้นจากความเชื่อ และศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวล้านนาโบราณ รวมทั้งใช้ตีเป็นสัญญาณบอกเหตุต่างๆในชุมชน เช่นนัดประชุม, แจ้งเหตุร้าย, แจ้งไฟไหม้, แจ้งว่าวันขึ้นเป็นวันพระ, หรือตีเพื่อเป็นพุทธบูชาพระรัตนตรัย

 

กลองปู่จา เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ ความยาวประมาณ 1-2.5 เมตร ทำด้วยไม้สัก ไม้ประดู่ หรือไม้ดอกแก้ว  ขึงด้วยหนังที่ทำจากหนังวัว หรือหนังควายทั้งสองหน้า  แล้วตรึงด้วยลิ่ม ภาษาท้องถิ่นเรียกว่าแส้ไม้ (หมุดตอก) ทั้งสองหน้า  และประกอบด้วยกลองใบเล็กอีก 3 ใบ เรียกว่า"กลองลูกตุบ" กลองปู่จามีมากในจังหวัดภาคเหนือตอนบน และพบมากที่สุดในจังหวัดลำปาง  โดยเกือบทุกวัดจะมีการสร้างหอกลองไว้  เพื่อเป็นศูนย์กลาง "การสื่อสาร" ในสมัยโบราณ  สำหรับแจ้งเหตุ หรือ แจ้งเตือนกิจกรรมในชุมชน และงานบุญต่างๆ  โดยแต่ละเหตุการณ์จะมีจังหวะการตีที่แตกต่างกันไป  เช่น ในวันก่อนวันพระจะตีทำนอง  เสือขบตุ๊ (เสือกัดพระ), เสือขบช้าง, หรือสาวหลับเต๊อะ(สาวๆนอนหลับ) ฯลฯ เพื่อบอกให้ชาวบ้านรู้ว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นวันพระให้เตรียมมาทำบุญที่วัด  หรือการตีเพื่อแจ้งว่าจะมีการทำบุญทอดกฐิน  จะตีกลองปู่จาในจังหวะ ล่องน่าน, ล่องโขง  หรือการตีเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ในเวลาที่ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดู ก็จะตีจังหวะฝนแสนห่า เป็นต้น

 

จังหวัดลำปาง ร่วมกับสมาคมชาวเหนือ ฟื้นฟูประเพณีตีกลองปู่จาขึ้นมา เพื่อปลูกฝังเยาวชน และชุมชนของจังหวัดลำปาง รวมทั้งจังหวัดในภาคเหนือตอนบน ให้ตระหนักถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่สวยงามมีคุณค่านี้ไว้  โดยจัดงานครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2545

 

งาน "มหัศจรรย์ก๋องปู่จา ล้านนาไทย" เป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งในการเผยแผ่วัฒนธรรม และประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของล้านนาไทย  โดยได้ทำการตีกลองปู่จาครั้งแรก ณ หอกลองพร้อมๆกันสี่มุมเมือง เมื่อเวลาใกล้ค่ำของวันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2546 อันเป็นการประกาศเข้าสู่งานประเพณีครั้งสำคัญครั้งนี้  โดยมีทีวีช่อง 7 สี และสื่อมวลชนต่างๆให้ความสนใจเผยแพร่ข่าวการจัดงานของจังหวัดลำปางในครั้งนี้

 

 

 
มหัศจรรย์ก๋องปู่จา ล้านนาไทย !

 

กำหนดการแสดง :

 

1 กุมภาพันธ์ 2546

 

๐ ขบวนแห่กลองปู่จา พร้อมการแสดงศิลปะพื้นบ้านรอบเมืองลำปาง

๐ ของดีจังหวัดลำปาง "หนึ่งตำบล-หนึ่งผลิตภัณฑ์" และการแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนา ณ สวนสาธารณะเขลางค์นคร

 

2 กุมภาพันธ์ 2546

 

๐ แข่งขันการตีกลองปู่จา จาก 13 อำเภอของลำปาง ชิงถ้วย พ.ต.ท ทักษิณ  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

 

    * ผลการแข่งขันพร้อมภาพการแสดงคลิกที่นี่

 

๐ การแสดงตีกลองปู่จา  ประสานเสียงร่วมกับวง      ซิมโฟนิก ออเครสตร้า  ณ สนามกีฬา จังหวัดลำปาง (สนามกีฬาหนองกระทิง  วิทยาลัยพละศึกษาลำปาง)

๐ ของดีจังหวัดลำปาง "หนึ่งตำบล-หนึ่งผลิตภัณฑ์" และการแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนา ณ สวนสาธารณะเขลางค์นคร

 

3 กุมภาพันธ์ 2546

 

๐ ร่วมทำบุญตักบาตร พระสงฆ์ 76 รูป

๐ ฟังสวดชยันโต โดยเกจิอาจารย์

๐ รับน้ำพระพุทธมนต์ ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง

    ชมตัวอย่างความยิ่งใหญ่และงดงามคลิกที่นี่

         

๐ ของดีจังหวัดลำปาง "หนึ่งตำบล-หนึ่งผลิตภัณฑ์" และการแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนา ณ สวนสา-ธารณะเขลางค์นคร

          
        
       
 
  Lampang-CNN: viman183@hotmail.com