มหัศจรรย์ก๋องปู่จาล้านนาไทย

  1-3 กุมภาพันธ์ 2546                                       

 

ภาพการแข่งขันตีกลองปู่จาประกอบการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา วันที่  2  ก.พ. 2546

 

ารแข่งขันตีกลองปู่จาประกอบการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา  จัดเป็นครั้งที่สองแล้ว และถือเป็นรายการที่สำคัญอันหนึ่งของกำหนดการในงานครั้งนี้   ซึ่งทางจังหวัดลำปาง ร่วมกับส่วนราชการ และภาคเอกชนของจังหวัด  ร่วมมือกันจนทำให้ "ก๋องปู่จา" และวัฒนธรรมล้านนาของจังหวัดลำปาง ได้รับการกล่าวถึงกันมากมายทั่วประเทศ  

 

ทีมที่เข้าแข่งขันมาจากทุกตำบล และทุกอำเภอของจังหวัดลำปาง  ผู้ชนะเลิศจะได้เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมถ้วยและเกียรติบัตรจากท่านนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ  ชินวัตร  ผลการแข่งขันทีมที่ชนะเลิศคือ ทีมกลองปู่จาจากอำเภอแม่พริก  ซึ่งเป็นการชนะเลิศปีที่ 2 ของอำเภอนี้  ทีมอำเภอแม่พริกชนะใจบรรดาคณะกรรมการตัดสิน และผู้ชมทั้งภายในสนามก๊ฬากลางจังหวัด รวมทั้งผู้ชมที่ชมการถ่ายทอดสดที่บ้าน (สถานีโทรทัศน์ช่อง11 ) ด้วยการแสดงที่สร้างสรรค์ ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมล้านนาได้อย่างกลมกลืนทีเดียว  เหล่าสาวๆในชุดขาวที่รำเทียน ร่ายรำอย่างอ่อนช้อยเข้ากับเสียงกลองปู่จา  เช่นเดียวกับเหล่าชายฉกรรจ์ในชุดขาวที่ตีกลอง และร่ายรำด้วยท่าทางเข้มแข็ง ทะมัดทะแมง  เสมือนมีมนต์สะกดให้ผู้ชมย้อนกลับสู่อดีตของประเพณีนุ่งขาวห่มขาว เข้าวัดทำบุญของชุมชนล้านนาโบราณ 

 

นวันเดียวกันนี้ ภาคกลางคืนจัดให้มีการแสดง "ก๋องปู่จา + ออเคสตร้า" ประกอบแสงสีเสียง พร้อมกับการแสดงพื้นบ้านมากมาย  ผู้เขียนไปชมด้วย แต่ไม่ได้นำกล้องไปด้วย  นับว่าน่าเสียดายมาก   งานจัดได้ยิ่งใหญ่  หลายท่านที่ชมการแสดงซึ่งถ่ายทอดสดทางทีวีช่อง 11  คงได้ดูไปแล้ว   มีผู้ชมเข้าชมการแสดงครั้งนี้เป็นจำนวนมาก  เกินกว่าที่คณะกรรมการจัดงานคาดไว้เสียอีก   ที่นั่งราคา 100 บาท และ 50 บาทกว่า 2,000 ที่นั่งเต็มหมด  ในส่วนของที่นั่งแบบฟรี ก็แทบไม่มีทั้งที่นั่งและที่ยืนชมเลยทีเดียว   รายการแสดงที่กลองปู่จา ตีประสานเสียง และบรรเลงร่วมกับวงซิมโฟนิกออเคสตร้าของกองทัพเรือ  พร้อมกับคณะนักร้องประสานเสียงในเพลง "ร่ำเปิงเมืองลำปาง"  ผู้เขียนชมแล้วขนลุกครับ  ดนตรีไม่มีขีดขั้นของกาลเวลา และพรมแดนจริงๆ  เสียงกลองปู่จา ให้อรรถรสแตกต่างออกไปจากเสียงกลองทิมปานี ที่นิยมใช้กันในวงออเคสตร้า  แต่กลับสอดคล้องและประสานเข้ากันได้อย่างน่าอัศจรรย์กับวงซิมโฟนี่  โดยให้ความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ และเป็น "สากล" ของกลองปู่จา และวัฒนธรรมล้านนาเลยทีเดียว 

 

นับว่าจังหวัดลำปางประสบความสำเร็จสูงสุด  ในการจัดงานครั้งนี้   ปีหน้าจะต้องมี "มหัศจรรย์" แบบนี้ขึ้นอีกครั้งในจังหวัดลำปาง  เพื่อนๆชาวเน็ตทั่วไทย  พลาดได้อย่างไรกัน !

 

 

 1. กลองกับคนต้องเป็นหนึ่งเดียว

 

 2. ตีกลองประกอบการแสดงบนเวที

 

3. ทีมอำเภอแม่พริก จ.ลำปาง

 

  5. ผสานกับความนุ่มนวลอ่อนหวาน

 

 4. ท่วงท่าการร่ายรำที่เข้มแข็ง

 

 6. การแสดงรำประทีบประกอบกลองปู่จาของอำเภอแม่พริก จ.ลำปาง

 

  7. งามแต๊ๆเจ้า สาวเวียงละกอน

 

 

::: คนลำปาง  5 กุมภาพันธ์ 2546:::